โครงการเสริมสร้างรูปแบบวิถีชุมชนแบบผสมผสาน

Release Date : 12-12-2017 06:52:58
โครงการเสริมสร้างรูปแบบวิถีชุมชนแบบผสมผสาน

โครงการเสริมสร้างรูปแบบวิถีชุมชนแบบผสมผสาน

การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลแก่ประมงชายฝั่งและการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม

หลักการและเหตุผล

        สำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ที่มีการลงนามร่วมกันระว่าง ๔ หน่วยงานคือ จังหวัดตรัง สวทช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชไว้แล้ว ในโครงการติดตั้งสัญญาณดาวเทียมบนตัวพะยูนบริเวณหากหยงหลำ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม โดยมีการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยให้กับนักวิชาการในการทำงานทางด้านวิชาการร่วมกัน ดังนั้น เพื่อให้รูปแบบการนำข้อมูลจากงานวิจัยไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรม และให้ชุมชนประมงชายฝั่งที่สามารถเข้าใจการอนุรักษ์ทรัพยากรพะยูนและหญ้าทะเลอย่างถูกต้องและยั่งยืน โดยการกำหนดการเสริมสร้างรูปแบบวิถีชุมชนแบบผสมผสานการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลให้แก่ประมงชายฝั่งและการท่องเทียวแบบมีส่วนร่วม และจะเป็นการสร้างชุมชนให้มีความแข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นการอนุรักษ์โดยการใช้การท่องเที่ยว จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีรูปแบบและวิธีการที่ถูกต้อง นำเสนอชุมชน นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการสามารถร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืน โดยมีอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม คอยควบคุม รักษา ดูแลและกำกับให้มีความถูกต้องและเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดและยั่งยืน

วัตถุประสงค์

        ๑.๑  เพื่อสร้างกลุ่มอนุรักษ์พะยูนโดยการติดตามและร่วมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการติดตั้งสัญญาณดาวเทียมบนตัวพะยูน

        ๑.๒  เพื่อให้เทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการกำหนดเขตอนุรักษ์พะยูนและแห่งหญ้าทะเลอย่างเป็นรูปธรรม

        ๑.๓  เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ทั้งทางด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล

        ๑.๔  ชุมชนเข้าร่วมผ่านการอบรมและเข้าสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

วิธีดำเนินการ

        เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง โดยการนำข้อมูลสัญญาณดาวเทียมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเลอย่างเป็นระบบ โดยให้ชุมชนและผู้ประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากร์อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

         ๒.๑  การถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยการนำข้อมูลจากสัญญาณดาวเทียมมาใช้ในการกำหนดรูปแบบการจัดการพื้นที่บริเวณหากหยงหลำร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์ทุกฝ่าย เพื่อกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ของพื้นที่อย่างยั่งยืน

         ๒.๒  การกำหนดเขตอนุรักษ์พะยูน เต่าทะเล และเขตหวงห้ามเฉพาะของแหล่งหญ้าทะเล ที่ห้ามเข้าไปใช้ประโยชน์ใด ๆ จากกิจกรรมมนุษย์

         ๒.๓  การกำหนดรูปแบบ วิธีการปกป้อง การเฝ้าระวัง การประชาสัมพันธ์ และการตรวจตราในทะเลอย่างต่อเนื่อง

พื้นที่ดำเนินการ

         บริเวณหาดหยงหลำ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง หรือโรงแรมในจังหวัดตรัง